หลานคนเคยสงสัย covering คืออะไร ..
วันนี้ผมจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่า จริงแล้วcovering ที่เขาพูดๆกันจนติดหูติดปาก มันคืออะไรกันแน่
ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด
ซึ่ง งานหล่อคอนกรีตของงานต่างๆเช่นงานฐานรากก็จะมีมาตราฐานของระยะConcrete Covering แบบนึง
งานหล่อคอนกรีตคาน ก็จะมีมาตราฐานของระยะ Concrete Covering แบบนึง
ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับคอนกรีตที่หล่อในที่ ควรมีระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุดตามมาตรฐาน วสท. ดังนี้
วันนี้ผมจะพาทุกคนมาหาคำตอบกันว่า จริงแล้วcovering ที่เขาพูดๆกันจนติดหูติดปาก มันคืออะไรกันแน่
ระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต (Concrete Covering) ก็คือระยะของคอนกรีตที่ทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมสัมผัสกับน้ำหรืออากาศโดยตรงเพื่อทำหน้าที่ป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี หรือป้องกันไม่ให้เหล็กเสริมทำปฏิกิริยากันเหล็กเสริมจนทำให้เกิดสนิมขุม และทำให้โครงสร้างสูญเสียความสามารถในการรับกำลังในที่สุด
ซึ่ง งานหล่อคอนกรีตของงานต่างๆเช่นงานฐานรากก็จะมีมาตราฐานของระยะConcrete Covering แบบนึง
งานหล่อคอนกรีตคาน ก็จะมีมาตราฐานของระยะ Concrete Covering แบบนึง
ทั้งนี้การวัดความหนาของระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีต ให้วัดจากผิวด้านนอกของคอนกรีตลึกเข้าไปจนถึงผิวด้านนอกของเหล็กปลอก (ในกรณีที่ไม่มีเหล็กปลอกก็ให้วัดถึงผิวของเหล็กเสริมเส้นนอกสุด) สำหรับคอนกรีตที่หล่อในที่ ควรมีระยะคอนกรีตหุ้มผิวเหล็กหรือระยะหุ้มของคอนกรีตต่ำสุดตามมาตรฐาน วสท. ดังนี้
- เมื่อฐานรากและองค์อาคารส่วนสำคัญที่สัมผัสกับดินตลอดเวลา ให้มีระยะหุ้มต่ำสุด 7.5 ซม.
- คอนกรีตที่สัมผัสกับดินหรือถูกแดดและฝน
- เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม. ให้มีระยะหุ้มต่ำสุด 5 ซม
- เหล็กเสริมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม.และเล็กกว่า ให้มีระยะหุ้มต่ำสุด 5 ซม.
- .คอนกรีตไม่สัมผัสพื้นดินหรือสภาพอากาศภายนอก :
- พื้น, ผนัง, คานย่อย ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 2 ซม.
- คาน, เสา ระยะหุ้มคอนกรีตน้อยที่สุด 4 ซม
- ในคาน เหล็กเสริมหลักและเหล็กลูกตั้ง ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 3 ซ.ม.
- ในเสา ทั้งแบบเหล็กปลอกเดียวและเหล็กปลอกเกลียว ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 3.5 ซ.ม.
- ในคอนกรีตเปลือกบางและพื้นแผ่นพับ

- สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 16 มม. ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 2 ซ.ม.
- สำหรับเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 16 มม. หรือเล็กกว่า ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 1.5 ซ.ม
11. ให้เพิ่มความหนาของคอนกรีตหุ้มเหล็กได้ตามความเหมาะสม เมื่ออยู่ในสภาวะรุนแรง หรือบรรยากาศที่อาจก่อให้เกิดการผุกร่อน
12. กรณีใช้ร่วมกับมาตรฐานอื่น เช่น การป้องกันอัคคีภัย คอนกรีตหล่อสำเร็จ โครงสร้างเปลิกบาง ฯลฯ ให้ใช้ค่าที่มากกว่าเป็นเกณฑ์บังคับ
ระยะหุ้มคอนกรีตเหล็กเสริม ตามกฎกระทรวงควบคุมอาคาร ฉบับที่ 60 พ.ศ. 2549
- เสาสี่เหลี่ยมที่มีด้านแคบขนาด 30 ซ.ม. ขึ้นไป แต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม.
- เสากลมหรือเสาตั้งแต่ห้าเหลี่ยมขึ้นไป ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 30 ซ.ม. ขึ้นไป ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม.
- คานและโครงสร้างข้อหมุนคอนกรีต ขนาดกว้างตั้งแต่ 30 ซ.ม. ขึ้นไป ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 4 ซ.ม.
- พื้นหนาไม่น้อยกว่า 11.5 ซ.ม. ต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตน้อยสุด 2 ซ.ม.
โดยส่วนใหญ่แล้วทางช่างก่อสร้างส่วนใหญ่แล้วจะใช้ลูกปูกเป็นตัวเซตระยะConcrete Covering
ที่มา:www.thitinan.co.th
ถ้าระยะ Concrete Covering ในผนังบ่อ ลึก 50 เมตร ควรมีระยะเท่าไร 13-14 cm. มีผลต่อโครงสร้างมัย ครับ
ตอบลบ